... ความเชื่อ

... ค้นหา
Menu
... หน้าหลัก
... พญานาค
... ท่องเที่ยว
... พลวัต
... ข่าว/ประชาสัมพันธ์
... ความเชื่อ
... ค้นหา

... “พญามุจลินท์นาคราช” เจ้าวังผาพญานาคราช

เรื่องเล่าและคติชน (Narrative and Folklore)

คนในพื้นที่เล่าต่อกันมาหลายรุ่นกว่าร้อยปีว่าบริเวณห้วยหมากมีถ้ำพญานาค เมื่อถึงฤดูฝนพบว่าน้ำจะไหลเข้าไปและไหนย้อนขึ้นไปหาต้นน้ำและลำห้วย มีน้ำตลอดทั้งปี และมีปลาจากแม่น้ำโขงจำนวนมากขึ้นมาวางไข่ ชาวบ้านเรียกว่า “วัง” และเชื่อว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของพญานาค บริเวณรอบๆ ร่มเย็นและเงียบสงบ หลวงปู่เพิ่มทรัพย์ นิมิตเห็นว่าพญานาคมาอาศัยจึงมีการปั้นรูปพญานาคราชและมีคนแวะมากราบไหว้ ชาวบ้านเชื่อว่านาคราชหลายตนยังอาศัยอยู่และบำเพ็ญเพียรอยู่ที่นี่ หลวงปู่เพิ่มพันธ์ อนันโท (2565) “มีอยู่วันหนึ่งมีโยมปฏิบัติธรรมและบรรยายเรื่องพื้นที่ว่ามีอะไรบ้างเมื่อปี 2552 ซึ่งมันตรงกับที่ปู่นิมิตเห็น ได้ตามมาและเห็นว่าสิ่งนี้มันคือสิ่งที่นิมิต พื้นที่ตรงนี้เป็นสำนักสงฆ์มีลูกศิษย์ลูกหลานไกลไปถึงกรุงเทพ สำนักสงฆ์แห่งนี้เกิดขึ้นจากศรัทธาและความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการออกแบบเหมือนวัฒนธรรมขอม พญานาคที่นี่จึงเป็นพญานาคแบบขอม สีดำของพญานาคคือสีของนิล แต่บางครั้งพญานาคจะออกเป็นสีน้ำตาลม่วง แต่ต้องมีดูประมาณ 09.00 น.”

หลวงปู่เพิ่มพันธ์ อนันโท (2565) กล่าวอีกว่า “เราไม่ใช่คนพื้นที่แต่เราเดินทางมาจากชัยภูมิ ตอนที่ท่านไปตามมานิมิตเห็นต้นไม้สองต้น ข้างในมีถ้ำรูปแบบเหมือนที่ตั้งอยู่นี้ หลังต้นไม้จะมีเปลวเทียนเล่มใหญ่เหมือนเทียนพรรษากระจายออกไป เรายืนอยู่โน่นมองขึ้นมาเห็นต้นไม้สองต้นนี้ ข้างในยังไม่มีพระ เรานึกถึงเปลวประทีปและคำพูดของพระพุทธองค์ เรามีต้นทุนจากการนั่งกรรมฐาน” และพบอีกว่า คนที่เดินทางมาขอพรเข้าออกมากช่วงวันหยุด และสังเกตเห็นคนที่มาไหว้หลวงปู่และขอพรพญานาคราชกล่าวว่า “พี่น้องเพิลสิขายคอนโดขอให้เพิลขายได้แน่เด้อปู่” ขณะที่ หลวงปู่เพิ่มพันธ์ กล่าวว่า “เอาๆ ขอให้มึงขายได้ มึงขายได้แล้วมึงสิเอาหลังมาให้กะเอามา” และผู้หญิงคนหนึ่งพูดขึ้น “จำหนูได้บ่ บ่ได้มา 2 เดือนแล้ว หนูขอเลขแน่” หลวงปู่จึงพูดขึ้น“มึงออกไปหาลอตเตอรี่เลย 740 กับ 154 ขอให้โชคดีเด้อ” ทั้งสองคนกล่าวขอบคุณและกราบลาหลวงปู่ ขณะที่ การค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งสืบค้น พบว่ามีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ “จุดเชื่อมต่อพิภพบาดาล” ถ้ำวังผาพญานาคราช พื้นที่แห่งนี้มีความลึกและมีอายุยาวนานราว 3,000 ปีมาแล้ว เกิดพร้อมกันกับผาแต้มซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ถ้ำ และบริเวณนี้เป็นที่อยู่ของพญานาค “ที่นี่คือก้นบึ่งเมืองบาดาลที่มีนาคอยู่จำนวนมาก” และชาวบ้านพบเห็นพญานาคขึ้นมาเล่นน้ำบริเวณนี้ จึงมีความเชื่อว่ามีถ้ำของพญานาคอยู่ใต้หินเคี้ยวคดอยู่ไปถึงแม่น้ำโขงและยาวลึกไปถึงเมืองบาดาล ที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า “เมืองหลวง” หรือ “ท้องพระโรง” ของเมืองบาดาล เป็นเรื่องราวที่เกิดจาการนิมิตของพระอาจารย์ จึงมีการสร้างพญานาคแบบขอม เพราะบริเวณพื้นที่แห่งนี้ในอดีตเคยเป็นดินแดนที่ถูกปกครองโดยกลุ่มคนที่มีอารยธรรมขอม



เครื่องเซ่นไหว้พญานาคราชและชาวบ้านที่กำลังไหว้ขอพรบนบาน


เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic)

เรื่องเล่าเกี่ยวกับถ้ำวังพญานาคทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องเล่าที่เชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา เนื่องจากการเล่าเกี่ยวกับพญานาคและปั้นรูปพญานาคเชิงสัญลักษณ์เกิดขึ้นในวัดโดยพระสงฆ์ แม้อดีตชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมมีความเชื่อเกี่ยวกับพลังเหนือธรรมชาติแต่ไม่มีการปั้นรูปพญานาคในชุมชน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเรื่องเล่าเกี่ยวกับถ้ำวังผาพญานาคราช จะเห็นว่านอกเหนือจากการเป็นเรื่องเล่าที่ท้ำให้เห็นภาพเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาแล้ว ยังเห็นการเล่าเรื่องเชื่อมโยงกับพื้นที่ระบบนิเวศบริเวณถ้ำวังผาพญานาคราชที่เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ปลาที่ชาวบ้านให้ความเคารพ (พงษ์เทพ บุญกล้า, 2561) ขณะที่ หลวงปู่เพิ่มพันธ์ อนันโท (2565) กล่าวว่า “องค์พญานาคไม่ว่าสีดำหรือสีเขียวก็ไม่ได้ต่างกันหรอกลูก” คำปิ่น อักษร (2565) กล่าวว่า “ศรัทธาเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ข้องกระบวนการต่อสู้ของพี่น้องในลุ่มแม่น้ำโขง ศรัทธาของพญานาค คือ การปกป้องแม่น้ำโขง บางคนมองพญานาคเป็นผู้ปกป้องการถูกทำลายพื้นที่ทรัพยากร” 


ชาวบ้านกำลังจุดธูปเทียนและวางดอกไม้เพื่อขอพรและบนบานกับพญานาคราช


บริเวณถ้ำวังผาพญานาคราช มีรูปปั้นพญานาคราช สีดำ 2 ตนมี 7 เศียร ลำตัวของพญานาคราชผูกด้วยผ้า 7 สี อีกทั้งมีดอกดาวเรือง ธูป เทียน ของคนที่แวะมาขอพรบนบานต่างๆ เมื่อเดินเข้าไประหว่างพญานาคราชตามแนวยาวจะมีบันไดทอดลงไปถึงถ้ำวังผา และมีช่องให้ลอดลงไปถึงลำห้วย และพบอีกว่า ระหว่างทางเดินบริเวณใกล้ๆ กับพญานาคราชจะมีขันหมากเบ็งและขันหมากวางไว้สำหรับไหว้ขอพรและบนบานพญานาคราชพร้อมด้วย หากใครประสงสิ่งใดเมื่อมาบนบานกับปู่พญามุจลินท์นาคราช ได้รับความช่วยเหลือ แต่คนที่ขอจะต้องเป็นคนรักษาสัจจะวาจา พบว่า มีกรณีคนที่เดินทางมาจากจังหวัดอ่างทองเพื่อบนขอให้ยอดขายได้ 10 ล้าน แต่พอกลับไปได้ยอดขายสูงถึง 15 ล้าน



ขันหมากและขันหมากเบ็งสำหรับไว้พญานาคราช


คาถา บทสวด และคำบูชา

ป้ายพร้อมข้อความว่า “คาถาบูชาพระศรีอาริยเมตไตร : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ (3 จบ) เมตานะ ศรีอาริยะเมตโต พุทธานะมะ สันติเกโล อนาคามิ สาธึ สาธุ สาธุ” และคาถาบูชาพญานาคราช 9 ตระกูล : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) อะ มุ หะ กะ สุ ภุ นะ ยะ คะ อะระหัง พุทโธ นะโมะพุทธายะ มะอะอุ สาธุ สาธุ สาธุ (ครอบครัวแก้วมุณีวงศ์, ร้านทองไทยเจริญ ตลาดโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี)


คาถาบูชาพระศรีอาริยเมตไตรและคาถาบูชาพญานาคราช 9 ตระกูล


Tags
ความรัก
การเงิน
การงาน
โชคลาภ
สุขภาพ
ความอุดมสมบูรณ์

... ตระกูล

...

ตระกูลกัณหาโคตรมะ

อ่าน

... สถานที่

...

วัดถ้ำวังผาพญานาคราช

  วัดถ้ำวังผาพญานาคราช ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 6 กิโลเมตร)

อ่าน

...
กษมา ดอกดวง
(หัวหน้าโครงการ) Tel. 0942634259 [email protected]
...
ปิยวัฒน์ อัฒจักร
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
สิริวรัญญา เลิศสกุลรุ่งเรือง
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
ดร.บุญมี โททำ
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
พงษ์เทพ บุญกล้า
(ผู้ช่วยภาคสนาม)
...
สถานบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Facebook