... ความเชื่อ

... ค้นหา
Menu
... หน้าหลัก
... พญานาค
... ท่องเที่ยว
... พลวัต
... ข่าว/ประชาสัมพันธ์
... ความเชื่อ
... ค้นหา

... วัดถ้ำบอน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

เรื่องเล่าและคติชน (Narrative and Folklore)

บริเวณพื้นที่ “สามเหลี่ยมมรกต” เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนที่ติดกันของสามประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม 7 จังหวัด/แขวง คือ จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ประเทศไทย จังหวัดพระวิหาร อุดรมีชัย และสตึงเตร็งประเทศกัมพูชา และแขวงสาละวันและจำปาสักของ สปป.ลาว [1] และอยู่ในพื้นที่ “เทือกเขาพนมดงรัก” หรือ “พนมดงเร็ก” เทือกเขาสำคัญในพื้นที่ชายแดนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ “สมรภูมิช่องบก” ที่เกิดขึ้นเมื่อกำลังทหารเวียดนามบุกเข้ากัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อล้มล้างระบอบเขมรแดง พื้นที่แถบนี้ส่วนใหญ่ยังออยู่ในการประกาศเป็นเขตอันตราย เนื่องจากมีวัตถุระเบิดที่ยังไม่ได้เก็บกู้จำนวนมากหลงเหลือจากสงคราม อย่างไรก็ดี พบว่า พื้นที่บริเวณนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคขอองชาวบ้านและยกย่องให้เป็น “ดินแดนพญานาค” นามว่า “ปู่องค์ดำ” หรือ พญานาคปู่องค์ดำ ตั้งอยู่ที่วัดถ้ำบอน หรือวัดถ้ำบอนเจริญธรรม เป็นสำนักสงฆ์ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี 




ภาพ แผนที่ยุทธศาสตร์กองกำลังต่อต้านเวียดนามและการบุกรุกชายแดนไทยของเวียดนาม

ที่มา wikipedia.org


ดินแดนของพญานาคที่ชาวบ้านกล่าวถึงอยู่จุดที่เรียกว่า “เนินห้าร้อย” เรื่องเล่าส่งต่ออกันมาว่า หลวงปู่มัน ท่านนิมิตเห็นพื้นที่จุดนี้มีความน่าสนใจและศักดิ์สิทธิ์ จึงแนะนำให้พระลูกศิษย์ คือ หลวงปู่หนู เดินทางมาที่แห่งนี้ จึงเริ่มเกิดขึ้นเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม จากนั้นมีการนิมิตเห็นว่ามีพญานาคตนหนึ่งปกป้องรักษาพื้นที่บริเวณนี้ โดยพญนาคอยู่ในถ้ำบอนที่มีโครงสร้างโล่งกว้าง มองออกไปภายนอกพบต้นไม่และธรรมชาติเขียวสมบูรณ์ ปกคลุมด้วยเถาวัลย์ขนาดใหญ่จำนวนมาก ในนิมิตนั้นท่านเห็นว่า พญานาคปรากฏตัวในกายมนุษย์ เป็นชายสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำ หน้าตางดงามแต่ดูดุดัน จึงได้ยกย่องพญานาคในพื้นที่แห่งนี้ว่าเป็นพญานาคองค์ดำเป็นผู้เฝ้าสถานที่ “ถ้ำบอน” [2]


นอกจากนั้น ภายในถ้ำมีรูปถ่ายของพระผู้บุกเบิกและพระพุทธรูป รวมถึงพบรูปปั้นช้างสำหรับเคารพบูชา ความเชื่อของคนในพื้นที่ผสมผสานระหว่างพุทธศาสนา พญานาค และช้างศักดิ์สิทธิ์ โดย พระอาจารย์สันติ (พระผู้ดูแล) กล่าวว่า “หลังบิณฑบาตรเสร็จอยู่ๆ มีอะไรไม่รู้ดลใจอยากลงมาในถ้ำและอยากกราบรูปปั้นช้าง เพราะเห็นว่าเป็นรูปหนึ่งของพระพุทธเจ้า ในนิมิตท่านได้เห็นว่ารูปปั้นกลายเป็นช้างใหญ่ รูปปั้นช้างนี้ปั้นอยู่ที่ถ้ำบอนมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะก่อสร้างอะไรในที่แห่งนี้จะบอกกล่าวและขอพญานาคก่อนสร้างทุกครั้ง กล่าวอีกว่า วันหนึ่งมองลงไปเห็นงูใหญ่ยกหัวอยู่บริเวณที่สร้างพญานาค และเคยเห็นแสงสีเขียวมรกตลงมาจากท้อองฟ้า” [3] แต่เหตุผลที่วัดนี้ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนักจเนื่องจากทางไปในสมัยก่อนไม่ค่อยสะดวก ต้องขึ้นเนินภูเขาสูงชัน คดเคี้ยว และทางที่เป็นดินหินลูกรัง การเดินทางเข้าไปท่ามกลางป่าที่ข้างทางยังอาจมีระเบิดที่ยังหลงเหลือในพื้นที่เนื่องจากเป็นสมรภูมิรบเก่า สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเดินทางไปที่ บ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี หรือทางไปสามเหลี่ยมมรกตมีทางแยกไปก่อนถึงเนิน 500 เลี้ยวขวา ปัจจุบันได้ทำทางขึ้นไปเนิน 500 และวัดถ้ำบอนเป็นถนนคอนกรีตระดับทางยังสูงชันแต่รถขึ้นได้

เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic)

การปั้นรูปพญานาคแห่งนี้เกิดจากความศรัทธาและความเชื่อ พญานาคที่รักษาพื้นที่บริเวณนี้ชื่อว่า “พญานาคองค์ดำ” แต่พบว่า มีการปั้นพญานาคบริวารไม่ระบุชื่อ 4 ตน บริเวณทางเดินพร้อมด้วย ประกอบด้วย ตนแรกสีเขียว ตนที่สองสีฟ้า ตนที่สามสีขาว และตนที่สามสีเหลืองทอง พญานาคทั้ง ตน อยู่บริเวณทางเดินมี 1 เศียร และรูปปั้น “ปู่อนันตนาคราช” หรือ พญานาคองค์ดำ รูปร่างลักษณะคล้ายงูใหญ่สีทอง หน้าตาดูดุดันน่าเกรงขาม ความงามศของพญานาค วัดถ้ำบอนเจริญธรรม ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เชื่อว่าได้รับความโชคดีและความศรัทธาจากพญานาคองค์ดำ ดังกล่าวข้างต้นพื้นที่แห่งนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ผู้คนที่เดินทางเข้ามากราบไหว้ยังเป็นกลุ่มคนเฉพาะ และเดินทางมาไหว้ทั้งพระและพญานาคในพื้นที่นี้


คาถา บทสวด และคำบูชา

การกราบไหว้บูชาพญานาคที่วัดถ้ำบอนผสมผสานกับความเชื่อพุทธศาสนา คนที่เดินทางมาด้วยความศรัทธาสามารถกราบไหว้พระและขอพรพญานาคได้ตามความประสงค์ การขอพรพญานาคส่วนใหญ่ขอเรื่องโชคลาภและความมั่งคั่ง ซึ่งจะสร้างความสงบร่มเย็นให้กับคนที่แวะเวียนมาเนื่องจากความงามและร่มเย็นของธรรมชาติ บริเวณถ้ำมีสถานที่สำหรับฝึกกรรมฐานให้กับคนที่ต้องการปฏิบัติธรรม หากมองหาประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ผสมผสานความศรัทธาและความงามของธรรมชาติ วัดถ้ำบอนเป็นปลายทางที่สมบูรณ์แบบหนึ่งที่ผสมผสานกันอย่างสมบูรณ์ระหว่างความเชื่อทางพุทธศาสนาและพญานาค ทุกคนที่มีความศรัทธามีโอกาสกราบไหว้และขอพรตามความประสงค์ของตน เพื่อความโชคดี ความมั่งคั่ง หรือความสงบเรียบร้อย


ที่มาข้อมูล

[1] กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. 2555. สามเหลี่ยมมรกต. เว็บไซต์ business.mfa.go.th. เข้าใช้ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567.

[2] หนึ่งนาคา. 2020. วัดน้ำตกถ้ำบอนเจริญธรรม อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี. เว็บไซต์ youtube.com. เข้าใช้ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567.

[3] หนึ่งนาคา. 2020. วัดน้ำตกถ้ำบอนเจริญธรรม อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี EP.2. เว็บไซต์ youtube.com. เข้าใช้ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567.

[4] หนึ่งนาคา. 2020. เว็บเดียวกัน.

Tags
โชคลาภ
การงาน
การเงิน

... ตระกูล

...

ตระกูลกัณหาโคตรมะ

อ่าน

... สถานที่

...

วัดถ้ำบอน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

  บ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี หรือทางไปสามเหลี่ยมมรกตมีทางแยกไปก่อนถึงเนิน 500 เลี้ยวขวา ปัจจุบันได้ทำทางขึ้นไปเนิน 500 และวัดถ้ำบอนเป็นถนนคอนกรีตระดับทางยังสูงชันแต่รถขึ้นได้

อ่าน

...
กษมา ดอกดวง
(หัวหน้าโครงการ) Tel. 0942634259 [email protected]
...
ปิยวัฒน์ อัฒจักร
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
สิริวรัญญา เลิศสกุลรุ่งเรือง
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
ดร.บุญมี โททำ
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
พงษ์เทพ บุญกล้า
(ผู้ช่วยภาคสนาม)
...
สถานบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Facebook