... ความเชื่อ

... ค้นหา
Menu
... หน้าหลัก
... พญานาค
... ท่องเที่ยว
... พลวัต
... ข่าว/ประชาสัมพันธ์
... ความเชื่อ
... ค้นหา

... วัดป่าปากโดม

บริบท ภูมิศาสตร์ และกายภาพ

“วัดป่าปากโดม” ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดชื่อดังมีรูปปั้นพญานาคเป็นสัญลักษณ์สำคัญ บริเวณลำโดมมีแม่น้ำไหลลงสู่แม่น้ำมูลแล้วไหลออกสู่แม่น้ำโขง [1] “ลุ่มน้ำลำโดมใหญ่” หรือ “ปากโดม” พื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยาวนานเป็นพลวัต บริเวณลุ่มน้ำลำโดมใหญ่มีพื้นที่เกษตรกรรมเป็นบริเวณกว้างเหมาะสำหรับทำนา ทำไร่ สามารถเลี้ยงชุมชนเรื่อยมานับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านถึงปัจจุบัน อดีตชุมชนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำลำโดมใหญ่อย่างเต็มที่ เป็นลักษณะการพึ่งพิงกันและกันเหมือนสังคมชนบทยุคก่อน การจัดการน้ำใช้ประโยชน์ตามธรรมชาติ พึ่งพาอาศัยกัน ไม่มีการจัดสรรปันส่วนว่าส่วนไหนเป็นของใคร ชาวบ้านรู้ว่าสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันภายใต้ความเคารพต่อสายน้ำและใช้แบบถ้วยทีถ้อยอาศัย ชุมชนมีวิธีการกำกับดูแลกัน เช่น การใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านหาปลา การห้ามใช้ไฟฟ้าช๊อตปลาเพราะเป็นการทำลายล้าง ถ้ามีการละเมิดเกิดขึ้นจะมีการแจ้งผู้นำหมู่บ้านหรือการปรับไหม หากยอมความกันในชุมชนไม่ได้จะมีการแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี [2] ลำโดมใหญ่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารแหล่งหนึ่งของแม่น้ำมูล มีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่ป่าเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเทือกเขาที่กั้นระหว่างพรมแดน “ไทย-ลาว” และ “ไทย-กัมพูชา” ภูมิประเทศประกอบไปด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนแต่พื้นที่ดังกล่าวยังมีข้อมูลทางด้านนิเวศวิทยาทางน้ำน้อยมาก 



Unclassifiedwatershed areas และ Classificationof some parts inthe watershed areas.

ที่มา: ศิริชัย ด้วงเงิน, วันชัย อรุณประภารัตน์ และปิยพงษ์ ทองดีนอก (2564)


การเดินทางเข้าไปวัดป่าปากโดมต้องเดินทางบนทางหลวงชนบท หมายเลข อบ.3029 ตลอดการเดินทางสังเกตเห็นการปรับพื้นที่ถนนและมีการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณเส้นทางเข้าไปวัดป่าปากโดมเพื่อให้มีแสงสว่าง พบว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนี้มีทั้งกิจกรรมประมงพื้นบ้าน และเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง และยางพารา รวมทั้งปลูกดอกดาวเรืองที่ใช้สำหรับประดิษฐ์เป็นเครื่องบูชาพญานาคและจำหน่วยให้กับนักท่องเที่ยวหรือนักแสวงบุญที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ เพื่อสักการะองค์พญานาคที่ประทับอยู่ที่ปากโดม


ทางหลวงชนบท หมายเลข อบ.3029 กำลังปรับสภาพและติดตั้งเสาไฟส่องสว่างข้างถนน


พื้นที่บริเวณวัดป่าปากโดมตั้งอยู่ติดกับ “ปากโดม” อาณาบริเวณที่น้ำจากเทือกเขาพนมดงรักชายแดนไทย กัมพูชา และ สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำมูลก่อนออกไปแม่น้ำโขงที่แม่น้ำสองสี อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบวัดป่าปากโดมส่วนหนึ่งประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ขณะที่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาบริเวณวัดป่าปากโดมนอกจากจะได้ขอพร กราบไหว้ สักการบูชาพญานาค ยังมีกิจกรรมให้อาหารปลาบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา 

พื้นที่บริเวณน้ำจากลำน้ำโดมไหลลงสบกับลำน้ำมูลบริเวณปากโดม


น้ำจากปากโดมได้ไหลลงสู่แม่น้ำมูลผ่านตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร และแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของอำเภอพิบูลมังสาหารที่ชาวบ้านเรียกว่า “แก่งสะพือ” ในทุกปีเมื่อหน้าแล้งมาเยือนประมาณเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม แก่งหินที่เคยจมอยู่ใต้ลำน้ำจะเผยโฉมให้เป็นกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เพราะมีชื่อเสียงมานานทางหน่วยงานท้องถิ่นจึงปรับภูมิทัศน์บริเวณแก่งสะพือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว สวนสาธารณะร่มรื่น มีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกมากมาย นักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่แวะเวียนมาชมวิวเล่นน้ำกันไม่ขาด สำหรับชื่อแก่งสะพือเพี้ยนมาจากภาษาของชาวส่วย (หรือชาวกวย ชาวกูย) ว่า “กะไซพรืด” ซึ่งแปลว่า “งูใหญ่” หรืออีกนัยหมายถึง “พญานาค” [4]

สะพานข้ามแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอพิบูลมังสาหาร และน้ำในแม่น้ำมูลบริเวณแก่งสะพือ





การท่องเที่ยว

ชาวบ้านสะท้อนว่า ก่อนมาชายดอกไม้เป็นคนหาปลา รับจ้างทั่วไป พอมาขายก็มีทั้งวันที่ขายได้ วันที่ขายไม่ได้ การขายก็พอจะมีรายได้ ไม่ต้องอยู่เฉยๆ ตอนนี้หาปลายาก น้ำเสีย ปลาตาย แม่น้ำโดม แม่น้ำมูลไม่เหมือนเดิม ช่วงที่นักท่องเที่ยวจะมาคือวันหยุดยาว สงกรานต์ ตรุษจีน ปีใหม่ คนมาเต็มแน่นวัด ตั้งแต่มีโควิดมานี้คนมาไม่มาก การขายของคนขายลงทุนเองไม่มีหน่วยงานมาส่งเสริม ในช่วงเทศกาลขายได้ประมาณ 2000-3000 บาท ถ้าวันธรรมดาจะขายได้วันละ 300 - 500 บาท ยังไม่หักต้นทุน 




พื้นที่บริเวณชุมชนใกล้กับวัดป่าปากโดมมีสวนดอกดาวเรืองที่ชาวบ้านปลูกไว้สำหรับทำชุดบูชา ราคาขายขึ้นอยู่กับฤดูกาล ดอกไม้สามารถเก็บไว้ในตู้ที่เก็บความเย็นไว้หลายวัน คนที่ปลูกเป็นคนในหมู่บ้านที่มีประสบการณ์ปลูกด้วยตนเอง แต่ก่อนไปรับเขามาแต่บางครั้งไปยากจึงปลูกเสริมเองบ้าง ร้านค้าที่ขายมีประมาณ 11 ร้าน เท่าที่จำได้มีร้านยายพิมพ์ ร้านเอ๋ ร้านเอ้ ร้านบุญเหลือ ร้านยายเหง้า ร้านสาวปากโดม ร้านยายจ่อย และมีร้านในวัดอีกประมาณ 10 ร้านที่ขายเฉพาะดอกไม้ ไม่เกี่ยวกับร้ายก๋วยเตี๋ยว อาหาร กาแฟรม เวลาคนมาไหว้ไม่มีอะไรกินคนในหมู่บ้านก็ทยอยเปิดร้านตามกันนอกจากนั้น ชาวบ้านมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าว ปลูกยางพารา แต่การขายของบูชาพญานาคเป็นงานเบา ไม่เมื่อย ใช้แค่แรงในการหาใบตอง 3 กิโลกรัม 100 บาท ใช้ประมาณ 1 สัปดาห์ ใบเตย กิโลกรัมละ 30 บาท ใช้ได้ 2 สัปดาห์ ดอกดาวเรือง 100 ดอก 80 บาท ดอกไม้ราคาขายตามขนาดตั้งแต่ร้อยละ 30 - 80 บาท (หาซื้อในหมู่บ้านทั่วไปที่ปลูก) และทำชุดบูชา


ดอกดาวเรืองที่ถูกมัดประดิษฐ์สำหรับใช้ไหว้พญานาค



ชาวบ้านอยากให้หน่วยงานรัฐมาช่วยเหลือ อาจจะช่วยให้ชาวบ้านมีอาชีพ เช่น วิสาหกิจดอกดาวเรือง ปลูกใบเตย ปลูกใบกล้าย แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการส่งเสริม ชาวบ้านลงทุนเอง 


นักท่องเที่ยวเดินทางมาไหว้บูชาพญานาควัดป่าปากโดม


นักท่องเที่ยวและคนที่มีจิตศรัทธาเดินทางมาจากหลากหลายถิ่น ก่อนเข้าสู่บริเวณวัดมีรถของนักท่องเที่ยวจอดซื้อเครื่องเซ่นไหว้ที่วางจำหน่ายในร้านค้าเล็กๆ ที่ทำเองโดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียง โดยที่ร้านจำหน่ายมีการเขียนป้ายและติดราคาขัดเจนดึงดูดคนที่เดินทางมาให้แวะ ขณะที่รถที่มาที่วัดป่าปากโดมมีทั้งรถยนต์ รถแท็กซี่ และรถมอเตอร์ไซค์ เมื่อเดินเข้าสู่บริเวณวัดป่าปากโดมจะพบกับร้านจำหน่ายดอกไม้และเครื่องเซ่นไหว้ รวมทั้งแผงขายล๊อตเตอรี่ เดินเข้าไปภายในตัวอาคารพบว่าในกระถางธูปมีการจุดแท่งเสี่ยงทายเป็นตัวเลขที่ได้มาจากร้านขายดอกไม้ 


การเสี่ยงทายตัวเลขและแผงวางจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล

Google Map

... พญานาค (Naga)

...

“ทะนะมูลนาคราช” มหัศจรรย์แห่งล้ำน้ำมูล

  สำนวนหนึ่งกล่าวถึงพญานาคที่วัดป่าปากโดม คือ “ทะนะมูลนาค” และอีกสำนวนชาวบ้านเชื่อว่าในพื้นที่มีพญานาคอาศัยอยู่ที่แห่งนี้ 2 ตน คือ “เจ้าปูภูวงศ์” และ “เจ้าย่าปทุมมา”

อ่าน

...
กษมา ดอกดวง
(หัวหน้าโครงการ) Tel. 0942634259 [email protected]
...
ปิยวัฒน์ อัฒจักร
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
สิริวรัญญา เลิศสกุลรุ่งเรือง
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
ดร.บุญมี โททำ
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
พงษ์เทพ บุญกล้า
(ผู้ช่วยภาคสนาม)
...
สถานบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Facebook