... ความเชื่อ

... ค้นหา
Menu
... หน้าหลัก
... พญานาค
... ท่องเที่ยว
... พลวัต
... ข่าว/ประชาสัมพันธ์
... ความเชื่อ
... ค้นหา

... วัดสวนหินผานางคอย

บริบท ภูมิศาสตร์ และกายภาพ

วัดสวนหินผานางคอย ตั้งอยู่ที่บ้านดงนา ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ติดริมแม่น้ำโขงไทย-ลาว การเดินทางถ้าจากผาแต้มให้มาตามถนนหมายเลข 2112 เมื่อเจอสามแยกให้ตรงไปทางเขมราฐ ตรงสามแยกนี่จะมีป้ายเล็กๆ ทางขวามือว่าผานางคอย วัดหลวงปู่พรหมมา ตรงไปประมาณ 13.5 กม. พบป้ายบอกทางไปวัดสวนหินผานางคอย หลวงปู่พรหมมา (ผู้สร้างวัด) ให้เลี้ยวขวาเข้าไป การเดินทางไปวัดผาหินนางคอยสามารถเดินทางไปได้โดยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ขณะที่ ถนนเป็นคอนกรีตสลับกับดินลูกรังเป็นช่วง ๆ เมื่อเดินทางไปถึงวัดผาหินนางคอยจะพบกับพญานาคที่ตั้งสง่าอยู่บนหน้าผา มองออกไปหาแม่น้ำโขง เบื้องล่างหน้าผาเป็นป่าไม้และหมู่บ้านเล็กๆ ชาวบ้านมีอาชีพพึงพาทรัพยากรธรรมชาติและแม่น้ำโขง เมื่อขับไปถึงทางเข้าวัดสวนผาหินนางคอยจะพบกับก้อนหินใหญ่ 2 ก้อนเป็นทางเข้า และชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นประตูเข้าไปสู่ดินแดนของพญานาค


การเดินทางเข้าไปวัดผาหินนางคอยอยู่ระหว่างการพัฒนา


ชาวบ้านเชื่อว่าหินสองก้อนนี้คือประตูเข้าสู่ดินแดนของพญานาค


บ้านดงนา เป็นหมู่บ้านริมโขงกับความมั่นคงทางอาหาร เป็นหมู่บ้านที่มีความมั่นคงทางอาหารในระดับสูง ปลาในแม่น้ำโขงเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ราคาถูกที่คนในชุมชนสามารถบริโภคได้อย่างไม่จำกัด แม้ไม่มีเงินก็มีปลากิน พันธุ์พืชที่เป็นผักพื้นบ้านก็เป็นผักคุณภาพดี ไม่ปนเปื้อนสารเคมีและเก็บหาได้ตามริมฝั่ง เกาะแก่งทั่วไปไม่ต้องใช้เงินซื้อหา นอกจากนำมาบริโภคแล้วยังหาปลาและผักเพื่อนำมาขาย นำมาแลกข้าว เพื่อนำเงินและข้าวมาจุนเจือครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกัน ผืนดินริมน้ำโขงที่แม้จะถูกกระแสน้ำท่วมตามฤดูกาล แต่เมื่อผืนดินโผล่พ้นน้ำ ชาวบ้านในชุมชนยังได้ใช้พื้นดินตรงนี้ทำการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อกินและขาย การลงทุนก็น้อยเพราะไม่ต้องใช้สารเคมีหรือปุ๋ยบำรุงเนื่องดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจาก กระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนที่มีแร่ธาตุต่างๆที่เป็นอาหารของพืชมาด้วยชาวบ้านในหมู่บ้านที่ลงหาปลาก็ได้ปลา เก็บพืชผักริมชายฝั่งมาทำเป็นกับข้าวก็ทำได้ โดยไม่ต้องซื้อหา มีที่ดินอุดมสมบูรณ์ใช้ปลูกผัก จึงถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่นคงทางอาหาร ที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อหามา เป็นการกระบวนการพึ่งพาที่เงินแทบไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เพราะถึงแม้ไม่มีเงิน ก็ยังมีอาหารกิน ความมั่นคงทางอาหารจึงเป็นเรื่องที่ชาวบ้านไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเป็นความเคยชิน เป็นวิถีชีวิตที่ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวบ้าน ซึ่งเป็นความเคยชินที่สำคัญของชีวิต ผู้วิจัยพบว่า ชาวบ้านดงนาจะเดินทางจากหมู่บ้านขึ้นมาที่วัดผาหินนางคอยเพื่อทำบุญและไหว้ขอพรพญานาค


มุมสูงบนผาหินนางคอย


การท่องเที่ยว

อดีตวัดผาหินนางคอยเป็นวัดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว นักแสวงบุญ และนักเสียงโชค ที่เดินทางมาที่นี่ ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับแม่ค้ารายหนึ่งที่สร้างเพิงเล็กๆ จำหน่ายสินค้า พบว่า หลังจากสถานการณ์โควิด 19 เป็นต้นมาลูกค้าน้อยลงมาก จากแต่ก่อนมีคนเดินเต็มวัน ปัจจุบันจะมีนักท่องเที่ยวบ้างในช่วงวันหยุดแค่ไม่กี่คน 


สินค้าวางจำหน่ายในแผงเล็กๆ ที่สร้างขึ้นอย่างง่าย


นอกจากรูปปั้นองค์ปู่พญาอนันตภุชงค์นาคราช และพญาอินถาผานางคอย ยังมีอีกจุดที่มีความน่าสนใจซึ่งอยู่ห่างจากรูปปั้นพญานาคเพียงไม่ถึง 500 เมตร คือ ภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ เป็นลวดลายฝามือประทับอยู่บทก้อนหิน ซึ่งได้รับการสำรวจและปักพิกัดโดยกรมศิลปากร 2562/016 สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี     



ลวดลายฝามือและภาพวาดโบราณบนก้อนหิน


Google Map

... พญานาค (Naga)

...

“องค์ปู่พญาอนันตภุชงค์นาคราช” เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำโขง

  พญานาคที่วัดผาหินนางคอยเป็นพญานาค 9 เศียร ลำตัวสีเขียวเข้มปนดำ ลำตัวเลื้อยพันก้อนหิน และเกี่ยวข้องกับตำนานรักอันอมตะ "ผานางคอย"

อ่าน

...
กษมา ดอกดวง
(หัวหน้าโครงการ) Tel. 0942634259 [email protected]
...
ปิยวัฒน์ อัฒจักร
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
สิริวรัญญา เลิศสกุลรุ่งเรือง
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
ดร.บุญมี โททำ
(ผู้ร่วมวิจัย)
...
พงษ์เทพ บุญกล้า
(ผู้ช่วยภาคสนาม)
...
สถานบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Facebook